เมนู

ข้อว่า อสุภาย วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระองค์ทรงตั้ง
อสุภมาติกา ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงจำแนก
คือทรงพรรณนา สังวรรณนา อสุภมาติกานั้น ด้วยบทภาชนีย์ จึงตรัสคุณา-
นิสงส์แห่งอสุภะ.
ข้อว่า อสุภภาวนาย วณฺณํ ภาสติมีความว่า ความอบรมคือ
ความเจริญ ความเพิ่มเติมจิต ที่ถือเอาอากากรอันไม่งาม ในส่วนทั้งหลายมีผม
เป็นต้น หรือในอสุภะมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น หรือในวัตถุภายในและภายนอก
ทั้งหลาย เป็นไป นี้ใด ; พระองค์จะทรงแสดงอานิสงส์แห่งอสุภภาวนานั้น
จึงตรัสสรรเสริญ คือทรงประกาศคุณ. ตรัสอย่างไรเล่า ? ตรัสว่า ดุก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบเฉพาะซึ่งอสุภภาวนา ในวัตถุมีผมเป็นต้น หรือ
ในวัตถุมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น ย่อมได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน อันละองค์ 5
ประกอบด้วยองค์ 5 มีความงาม 3 อย่าง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ 10 ภิกษุ
นั้น อาศัยหีบใจ กล่าวคือปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัต
ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุด.

[ปฐมฌานมีลักษณะ 10 และความงาม 3]


บรรดาความงาม 3 และลักษณะ 10 เหล่านั้น ลักษณะ 10 แห่ง
ปฐมฌานเหล่านี้ คือ ความหมดจดแห่งจิตจากธรรมที่เป็นอันตราย 1 ความ
ปฏิบัติสมาธินิมิอันเป็นท่ามกลาง 1 ความแล่นไปแห่งจิตในสมาธินิมิตนั้น 1
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่หมดจด 1 ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ดำเนินถึงความสงบ 1
ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ
คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในฌานจิตนั้น 1 ความผุดผ่องด้วย
อรรถคือความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเคียวกัน 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ

คือความเป็นไปแห่งความเพียร อันสมควรแก่สมาธิปัญญาและอินทรีย์ซึ่งเป็น
ธรรมไม่กลับกลาย และมีรสเป็นอันเดียวกันนั้น 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถคือ
ความเสพคุ้น 1.
บาลี* ในวิสัยเป็นที่เปิดเผยลักษณะ 10 นั้น ดังนี้:-
อะไรเป็นเบื้องต้น อะไรเป็นท่ามกลาง อะไรเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ความ
หมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความ
ผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน.
ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน เบื้องต้นมี
ลักษณะเป็นเท่าไร เบื้องต้นมีลักษณะ 3. ธรรมใดเป็นอันตรายของจิตนั้น
จิตย่อมหมดจดจากธรรมนั้น จิตย่อมดำเนินไปสู่สมาธินิมิตอันเป็นท่ามกลาง
เพราะค่าที่เป็นธรรมชาติหมดจด จิตแล่นไปในสมาธินิมิต (ซึ่งเป็นโคจรแห่ง
อัปปนา) นั้น เพราะความเป็นธรรมชาติดำเนินไปแล้ว. จิตหมดจดจากธรรม
ที่เป็นอันตราย 1 จิตดำเนินไปสู่สมาธินิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะค่าที่เป็น
ธรรมชาติหมดจด 1 จิตแล่นไปในสมาธินิมินั้น เพราะเป็นธรรมชาติดำเนินไป
1 เป็นปฏิปทาวิสุทธิซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน; เบื้องต้นมีลักษณะ 3 เหล่า
นี้. เพราะเหตุนั้น ปฐมฌานท่านจึงกล่าวว่า เป็นคุณชาติงามในเบื้องต้น และ
ถึงพร้อมด้วยลักษณะ 3.
ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ
เท่าไร ? ท่ามกลางมีลักษณะ 3. จิตหมดจดย่อมเพิกเฉย จิตดำเนินถึงความสงบ
ย่อมเพิกเฉย จิตปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว ย่อมเพิกฉาย. จิตหมดจดเพิกเฉย
1 จิตดำเนินถึงความสงบเพิกเฉย 1 จิตปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียวเพิกเฉย 1
//* ปฏิ. ข. 31/252 - 3.

เป็นความเพิ่มพูนอุเบกขา ซึ่งเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน; ท่ามกลางมีลักษณะ
3 เหล่านี้. เพราะเหตุนั้น ปฐมฌานท่านจึงกล่าวว่า เป็นคุณชาติงามในท่าม
กลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ 3.
ความผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะเท่าไร ? ที่สุด
มีลักษณะ 4 ความผุดผ่อง ด้วยอรรถ คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในฌานจิตนั้น 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถคือความที่อินทร์ทั้งหลายมีรสเป็น
อันเดียวกัน 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความเป็นไปแห่งความเพียร อัน
สมควรแก่สมาธิปัญญาและอินทรีย์ ซึ่งเป็นธรรมไม่กลับกลาย และมีรสเป็น
อันเดียวกันนั้น 1 ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความเสพดุ้น 1. ความผุดผ่อง
เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ; ที่สุดมีลักษณะ 4 เหล่านี้. เพราะเหตุนั้นปฐมฌาน
ท่านจึงเรียกว่า เป็นคุณชาติงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ. 4. จิตที่
ถึงความเป็นธรรมชาติ 3 อย่าง มีความงาม 3 อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ
10 ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก ถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ และสุข ถึงพร้อม
ด้วยการตั้งมั่นแห่งจิต ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิริยะ
สติ สมาธิ และปัญญาด้วยประการฉะนี้.
ข้อว่า อาทิสฺส อาทิสฺส อสุภสมาปตฺติยา วณฺณํ กาสติ มี
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญ คือตรัสอานิสงส์ ทรงประกาศคุณ
แห่งอสุภสมาบัติ เพราะทรงทำการกำหนดอ้างถึงบ่อย ๆ ว่า เป็นอย่างนั้นบ้าง
เป็นอย่างนี้บ้าง. ตรัสอย่างไร ? ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อ
ภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุญญาอยู่เนือง ๆ จิต ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความ
เข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่ฟุ้งซ่านไป ย่อมทั้งอยู่โดยความวางเฉย หรือ
โดยความเป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนปีกไก่ หรือท่อน

เอ็นที่บุคคลใส่เข้าไปในไฟ ย่อมงอ หดเข้า ม้วนเข้า คือไม่แผ่ออก แม้ฉัน
ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เนือง ๆ จิต
ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความเข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่พุงซ่าน
ไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ข้อว่า อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว อฑฺฒมาสํ ปฏิสลฺลิยิตุํ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออก คือหลีกเร้นอยู่โดดเดี่ยวลำพัง
ผู้เดียว ตลอดกึ่งเดือนหนึ่ง.
ข้อว่า นมฺหิ เกนจิ อุปสงฺกมิตพฺโพ อญฺญตฺร เอเกน ปิณฺ-
ฑปาตนีหารเกน
มีความว่า ภิกษุรูปใด ไม่ทำปยุตวาจา (วาจาเนื่องด้วย
ปัจจัย) ด้วยตน นำบิณฑบาตที่เขาตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่เราในตระกูลมี
ศรัทธา น้อมเข้ามาแก่เรา ยกเว้นภิกษุผู้นำบิณฑบาต เข้าไปให้นั้นรูปเดียว
ใคร ๆ คนอื่นจะเป็นภิกษุหรือคฤห์ก็ตาม อย่าเข้าไปหาเรา.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฆ่ากัน เพราะทรงเห็นกรรมเก่า]


ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้ ?
แก้ว่า ได้ยินว่า ในครั้งดึกดำบรรพ์ นายพรานเนื้อประมาณ 500
คน เอาท่อนไม้และข่ายเครื่องจับสัตว์เป็นอันมาก ล้อมป่าไว้พากันหัวเราะ
รื่นเริง รวมเป็นพวกเดียวกันนั่นแล สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยกรรม คือการ
ฆ่าเนื้อและนก จนตลอดชีวิต แล้วเกิดในนรก. พรานเนื้อเหล่านั้น หมกไหม้
ในนรกนั้นแล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ เพราะกุศลกรรมบางอย่าง ที่ตนทำไว้แล้ว
ในหนหลังนั้นแล จึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แม้ทั้งหมด ด้วยอำนาจแห่งอุปนิสัยแห่งกรรมอันงาม. อปราปรเจตนาของ
พรานเนื้อเหล่านั้น ที่ยังไม่ได้เผล็ดผล เพราะอกุศลกรรมที่เป็นรากเหงานั้น ได้